top of page
Technology Design
สสารที่เรารู้จักในปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 4 สถานะด้วยกัน ได้แก่
1. ของแข็ง
ของแข็ง คือ สถานะที่สสารมีรูปร่างคงตัว ไม่แปรเปลี่ยนตามภาชนะ มีปริมาตรที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันสูง ของแข็งมักมีมีความหนาแน่นสูงกว่าสสารเดียวกันในสถานะอื่น ตัวอย่างของสสารที่มีสถานะเป็นของแข็งเช่น ไม้ ก้อนหิน เสาปูน ทองคำ น้ำแข็ง กระดาษ หลอดไฟ รองเท้า และอื่น ๆ
2. ของเหลว
ของเหลว คือ สสารที่มีโมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่าสถานะของแข็ง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโเลกุลก็น้อยกว่าด้วย โมเลกุลจึงมีอิสระในการเคลื่อนที่มากกว่า ของเหลวมีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งที่ไม่พบในสถานะของแข็ง คือการไหล ซึ่งทำให้ของเหลวสามารถไหลได้ และมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุได้ ตัวอย่างของสสารในสถานะของเหลวเช่น น้ำ น้ำเชื่อม แอลกอฮอล์ล้างแผล ซีอิ้ว น้ำปลา ปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ และน้ำมันพืช เป็นต้น
3. แก๊ส
แก๊ส หรือ ก๊าซ คือสถานะที่สสารมีโมเลกุลอยู่ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลต่ำมาก สามารถแพร่และฟุ้งกระจายในอากาศและภาชนะที่บรรจุได้ ตัวอย่างของสสารในสถานะแก๊ส เช่น แก๊สแอมโมเนีย ไอน้ำ แก๊สออกซิเจน เยี่ยวอูฐ (แก้อาการหน้ามืดเป็นลม) คาร์บอนไดออกไซ์ และกลิ่นน้ำหอมชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
4. พลาสมา
พลาสมา คือสถานะหนึ่งของสสาร ซึ่งอยู่ในรูปแบบของแก๊สที่แตกตัวเป็นไออน มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า อันเนื่องมาจากสสารในนี้จะมีอิเล็กตรอนอย่างน้อย 1 ตัวที่ถูกดึงออกจากโมเลกุล และประจุไฟฟ้าอิสระทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น สาเหตุที่มีการแยกสถานะพลาสมาออกจากแก๊สก็เนื่องมาจากสถานะพลาสมานั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากสถานะแก๊ส ของเหลว และของแข็งอย่างชัดเจนนั่นเอง
bottom of page